ลักษณะเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
ลักษณะของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
ความหมายและความเป็นมา
เพลงกล่อมเด็กภาคใต้
หรือเพลงช้าน้องเป็นบทเพลงชนิดหนึ่งของชาว
ปักษ์ใต้ที่ใช้ร้องสำหรับขับกล่อมให้เด็กนอนหลับ
ในสมัยก่อนมีร้องกันทั่วไปแทบ
ทุกครัวเรือน
และแพร่หลายครอบคลุมในทุกพื้นที่ของภาคใต้ ลักษณะทั่วไปของ
เพลงกล่อมเด็กเป็นบทกลอนชาวบ้านที่นำคำง่ายๆ
มาเรียงร้อยให้มีเสียงสัมผัส
คล้องจองกัน
ลักษณะบังคับก็ไม่ตายตัว ยืดหยุ่นได้มาก ใช้วิธีการจดจำรับช่วง
ต่อกันเป็นทอดๆ คือ
ถ่ายทอดด้วยปาก (ORAL
TRANSMISSION) ด้วยเหตุที่
ใช้วิธีการถ่ายทอดบทเพลงในลักษณะดังกล่าว
ทำให้ในเพลงเดียวกัน ผิดเพี้ยน
แตกต่างออกไป
ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการเผลอลืม หรืออีกประการหนึ่ง ภาษา
ถิ่นของแต่ละท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดในบทเพลงนั้นมีสำนวนภาษาที่แตกต่างกัน
สาเหตุที่เรียกเพลงกล่อมเด็กว่าเพลงชาน้อง
หรือเพลงช้าน้องนั้นเป็น
เพราะคำว่า “ชา” และ “ช้า” มีความหมายว่า
ขับกล่อมให้น้องนอนนั่นเอง
ตัวอย่าง
เวเปลเหอ แม่สั่งให้เวช้าช้า
แม่โผกเปลผ้า เวโหยนโยนช้าให้น้องนอน
เวลาน้องอยากนม ให้พาไปส่งพระมารดร
เวโหยนโยนช้าให้น้องนอน ตอนเที่ยงอาบน้ำให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น